วันพุธที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2560

ความรู้เบื้องต้นเรื่องรถยนต์

หลักการทำงานของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน


            เครื่องยนต์ทุกชนิดผู้สร้างนั้นมีความต้องการที่จะให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน จะแตกต่างกันบ้างก็   ตรงลักษณะของการใช้งานและวิธีการจุดระเบิดน้ำมันเชื้อเพลิงภายในกระบอกสูบ ระบบระบายความร้อนของเครื่องยนต์และจังหวะการทำงานของเครื่องยนต์แต่ละชนิด  ส่วนประกอบที่สำคัญจะคล้ายกันหรือเหมือนกันเป็นส่วนใหญ่  เพื่อให้เข้าใจหลักการทำงานของเครื่องยนต์  จำเป็นที่จะต้องศึกษาและพิจารณาถึงลักษณะต่างๆ   ทางทฤษฎีให้สอดคล้องกับการทำงานของเครื่องยนต์ทั้งแบบแก๊สโซลีนและดีเซล  ซึ่งจะเริ่มการทำงานด้วยการดูดส่วนผสมของน้ำมันกับอากาศหรืออากาศเพียงอย่างเดียว  แล้วอัดส่วนผสมของอากาศนั้นจุดระเบิดทำให้แก๊สขยายตัวขับไล่ไอเสียหรือคายไอเสีย  แต่หลักการที่ทำให้เครื่องยนต์ที่ทำให้เครื่องยนต์ดีเซลแตกต่างจากเครื่องยนต์แก๊สโซลีนคือ  การจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ากระบอกสูบ  และการสันดาปของน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศที่บรรจุในกระบอกสูบ  โดยในเครื่องยนต์แก๊สโซลีนจะมีคาร์บูเรเตอร์ทำหน้าที่เป็นตัวจ่ายส่วนผสมอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิงในสัดส่วนที่ถูกต้อง  และปริมาณที่เหมาะสมทุกสภาวะการทำงานของเครื่องยนต์ถ้าพิจารณากันจริงๆแล้ว  จะเห็นว่าเครื่องยนต์แก๊สโซลีนจะมีขั้นตอนที่สับสับซ้อนมากกว่าเครื่องยนต์ดีเซล
เครื่องยนต์ 4 จังหวะ
            การทำงานของเครื่องยนต์ 4 จังหวะจะมีลักษณะการทำงานคือ ใน 1 กลวัตร ลูกสูบจะต้องเคลื่อนที่ขึ้น-ลง 4 ครั้ง คือ ขึ้น 2 ครั้ง ลง 2 ครั้ง เพลาข้อเหวี่ยงหมุน 2 รอบ จะได้กำลัง 1 ครั้ง จังหวะการทำงานจะหมุนเวียนกันอยู่เช่นนี้ตลอดไป จนกว่าจะหยุดเดินเครื่องยนต์ 
   

ส้มตำคอหมูย่าง

 ส้มตำคอหมูย่าง


บทที่1
บทนำ
1.  ความเป็นมาของส้มตำ
                   ส้มตำ เป็นอาหารคาวที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักมากที่สุดของวัฒนธรรมชนชาติลาว ภายหลังการยึดดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงแล้ว ต่อมาส้มตำได้กลายเป็นอาหารไทยอย่างหนึ่งด้วย และเป็นที่นิยมแพร่หลายไปทั่วทุกภูมิภาค ตลอดจนกลายเป็นอาหารที่มีชื่อเสียงของไทยควบคู่กับผัดไทยและต้มยำกุ้ง ส้มตำมีประวัติศาสตร์ต้นกำเนิดไม่แน่ชัดแต่สันนิษฐานว่าเป็นอาหารที่มาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยและประเทศลาว ซึ่งในอดีตถือเป็นแผ่นดินเดียวกัน เดิมนั้น ส้มตำมักปรุงโดยนำมะละกอดิบที่ขูดเป็นเส้นมาตำในครกเป็นหลัก พร้อมด้วยวัตถุดิบอื่นๆ คือ มะเขือเทศลูกเล็ก มะเขือสีดา มะเขือเปราะ พริกสดหรือพริกแห้ง ถั่วฝักยาว กระเทียม และปรุงรสด้วยน้ำตาลปี๊บหรือน้ำตาลอื่นๆ (ไม่นิยมน้ำตาลทรายเด็ดขาด) น้ำปลา มะนาว เมื่อส้มตำแพร่หลายในวัฒนธรรมชนชาติไทยสยามแล้วจึงมีการเพิ่มกุ้งแห้ง ถั่วลิสงคั่ว ปูดอง ปูเค็ม หรือปูสุกลงไปด้วย สิ่งที่ขาดไม่ได้ในวัฒนธรรมลาวก็คือ ปาแดก ปาแดกเป็นเอกลักษณ์สำคัญของอาหารประเภทส้มตำของวัฒนธรรมลาว ซึ่งคนไทยมีอาหารคล้ายกันนี้เรียกว่าปลาร้า (ปาแดกกับปลาร้ามีสูตรแตกต่างกันคือ ปลาแดกจะผสมรำ ส่วนปลาร้าจะผสมข้าวคั่ว)
         ส่วนผสมและเครื่องปรุงต่างๆเหล่านี้ทำให้ส้มตำมีรสเผ็ด เค็ม และเปรี้ยว สำหรับชาวลาวและอีสานนั้นนิยมส้มตำรสเผ็ดเค็ม ส่วนชายไทยนั้นนิยมรสเปรี้ยวหวาน ส้มตำนิยมรับประทานคู่กันกับข้าวเหนียว ซึ่งชาวเหนือเรียกว่าข้าวนึ่ง และไก่ย่าง บางครั้งนิยมรับประทานคู่กับขนมจีน เส้นเล็กลวก เส้นหมี่ และแคบหมู โดยมีผักสดเป็นเครื่องเคียง เช่น กะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว ผักบุ้ง ตลอดจน ผักดอง (ส้มผัก) ผักกาดขาว ผักชีฝรั่ง (หอมเป) ถั่วงอก ทูน ใบชะพลู (ผักอีเลิศ) เป็นต้นนอกจากนี้ ร้านค้าส้มตำส่วนใหญ่ มักมีอาหารอีสานอย่างอื่นขายร่วมด้วย เช่น ซุบหน่อไม้ อ่อม ลาบ ก้อย แจ่ว ปลาแดกบอง น้ำตก ซกเล็ก ตับหวาน ไก่ย่าง คอหมูย่าง พวงนม กุ้งเต้น (ก้อยกุ้ง) ข้าวเหนียว