วันพุธที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2560

ความรู้เบื้องต้นเรื่องรถยนต์

หลักการทำงานของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน


            เครื่องยนต์ทุกชนิดผู้สร้างนั้นมีความต้องการที่จะให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน จะแตกต่างกันบ้างก็   ตรงลักษณะของการใช้งานและวิธีการจุดระเบิดน้ำมันเชื้อเพลิงภายในกระบอกสูบ ระบบระบายความร้อนของเครื่องยนต์และจังหวะการทำงานของเครื่องยนต์แต่ละชนิด  ส่วนประกอบที่สำคัญจะคล้ายกันหรือเหมือนกันเป็นส่วนใหญ่  เพื่อให้เข้าใจหลักการทำงานของเครื่องยนต์  จำเป็นที่จะต้องศึกษาและพิจารณาถึงลักษณะต่างๆ   ทางทฤษฎีให้สอดคล้องกับการทำงานของเครื่องยนต์ทั้งแบบแก๊สโซลีนและดีเซล  ซึ่งจะเริ่มการทำงานด้วยการดูดส่วนผสมของน้ำมันกับอากาศหรืออากาศเพียงอย่างเดียว  แล้วอัดส่วนผสมของอากาศนั้นจุดระเบิดทำให้แก๊สขยายตัวขับไล่ไอเสียหรือคายไอเสีย  แต่หลักการที่ทำให้เครื่องยนต์ที่ทำให้เครื่องยนต์ดีเซลแตกต่างจากเครื่องยนต์แก๊สโซลีนคือ  การจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ากระบอกสูบ  และการสันดาปของน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศที่บรรจุในกระบอกสูบ  โดยในเครื่องยนต์แก๊สโซลีนจะมีคาร์บูเรเตอร์ทำหน้าที่เป็นตัวจ่ายส่วนผสมอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิงในสัดส่วนที่ถูกต้อง  และปริมาณที่เหมาะสมทุกสภาวะการทำงานของเครื่องยนต์ถ้าพิจารณากันจริงๆแล้ว  จะเห็นว่าเครื่องยนต์แก๊สโซลีนจะมีขั้นตอนที่สับสับซ้อนมากกว่าเครื่องยนต์ดีเซล
เครื่องยนต์ 4 จังหวะ
            การทำงานของเครื่องยนต์ 4 จังหวะจะมีลักษณะการทำงานคือ ใน 1 กลวัตร ลูกสูบจะต้องเคลื่อนที่ขึ้น-ลง 4 ครั้ง คือ ขึ้น 2 ครั้ง ลง 2 ครั้ง เพลาข้อเหวี่ยงหมุน 2 รอบ จะได้กำลัง 1 ครั้ง จังหวะการทำงานจะหมุนเวียนกันอยู่เช่นนี้ตลอดไป จนกว่าจะหยุดเดินเครื่องยนต์ 
   

 จังหวะที่ 
1 จังหวะดูด  (Intake  Stroke) 
จังหวะนี้ลูกสูบจะเคลื่อนที่จากศูนย์ตายบนลงสู่ศูนย์ตายล่าง  ขณะเดียวกันลิ้นไอดีจะเปิดรับส่วนผสมของอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับเครื่องยนต์แก๊สโซลีนหรือเปิดรับส่วนผสมของแก๊สเหลวกับอากาศ สำหรับเครื่องยนต์แก๊สเหลวและถูกดูดเข้ามาบรรจุอยู่ภายในกระบอกสูบ  โดยผ่านทางลิ้นไอดี จังหวะนี้จะติดต่อกันไปเรื่อยๆ จนกระทั่งลูกสูบเคลื่อนที่ลงถึงศูนย์ตายล่างจึงจะหมดจังหวะดูดโดยที่ส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศ หรือส่วนผสมของแก๊สเหลวกับอากาศจะถูกดูดมาบรรจุไว้จนเต็มภายในกระบอกสูบ
  
   จังหวะที่ 2 จังหวะอัด (Compression Stroke) จังหวะนี้จะเกิดขึ้นต่อเนื่องจากจังหวะแรกคือ เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ลงถึงศูนย์ตายล่างจากนั้นลูกสูบจะเคลื่อนที่ขึ้นสู่ศูนย์ตายบน ในขณะเดียวกันลิ้นไอดีและลิ้นไอเสียจะปิดสนิท ส่วนผสมของอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิงหรือแก๊สเหลวกับอากาศภายในกระบอกสูบจะถูกอัดตัวขึ้นไปเรื่อยๆ  ตามสภาพการเคลื่อนตัวของลูกสูบ จังหวะนี้จะสิ้นสุดลงก่อนที่ลูกสูบจะเคลื่อนที่ถึงศูนย์ตายบนเล็กน้อย


  

  จังหวะที่ 3 จังหวะระเบิด (Expansion Strokeบางทีเรียก จังหวะงาน (power Strokeจะเกิดขึ้นในตอนปลายจังหวะอัด โดยส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศหรือแก๊สเหลวกับอากาศจะถูกจุดระเบิดด้วยประกายไฟจากหัวเทียน จึงทำให้เกิดการเผาไหม้และการระเบิดซึ่งผลักดันให้ลูกสูบเคลื่อนที่ลง และทำให้ได้งานจากจังหวะนี้

      จังหวะที่ 4 จังหวะคาย (Exhaust Stroke) หลังจากที่ลูกสูบเคลื่อนที่ลงแล้วเนื่องจากแรงระเบิดจนเกือบถึงศูนย์ตายล่าง เป็นขณะเดียวกันกับลิ้นไอเสียจะเปิดและปล่อยให้ไอเสียซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ออกไปจากกระบอกสูบและยังคงเปิดอยู่จนกระทั่งลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้น จากการเคลื่อนตัวขึ้นของลูกสูบในจังหวะนี้ จะช่วยในการขับไล่ไอเสียออกอีกครั้งหนึ่ง แล้วจึงเวียนเข้ามาจังหวะดูดอีก และจะเป็นเช่นนี้ ตลอดเวลาที่เครื่องยนต์ทำงานอยู่จะเห็นได้ชัดเจนว่าเครื่องยนต์จะทำงานด้วยจังหวะดูด-อัด-ระเบิด-คาย หมุนเวียนกันอยู่เช่นนี้


       จังหวะ (Stoke) คือ การเคลื่อนที่ขึ้นหรือเคลื่อนที่ลงของลูกสูบ การทำงานของเครื่องยนต์ทั้งแบบ 2 จังหวะและ  4 จังหวะข้อแตกต่างกันออกไปดังนี้คือ
1.             โครงสร้าง ขนาดแรงม้าเท่ากันชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ 2 จังหวะจะมีการเคลื่อนไหวน้อยกว่า
เครื่องยนต์ จังหวะ ทำให้เครื่องยนต์ 2 จังหวะมีข้อขัดข้องน้อยกว่า ขนาดก็เล็กกว่าและราคาต่ำกว่า
2.              ประสิทธิภาพในการบรรจุไอดี เครื่องยนต์ 4  มีประสิทธิภาพในการบรรจุไอดีดีกว่าเครื่องยนต์ 2    
จังหวะไม่สามารถที่จะไล่ไอเสียออกได้เหมือนเครื่องยนต์ 4 จังหวะทำให้ไอเสียตกค้างอยู่ภายในกระบอกสูบ  เป็นผลให้กำลังที่ควรจะได้น้อยลงกว่าที่ควรจะเป็น
3.             การเผาไหม้เชื้อเพลิง เครื่องยนต์ 4 จังหวะมีการเผาไหม้ดีกว่าเครื่องยนต์ 2จังหวะเนื่องจาก
เครื่องยนต์ 2 จังหวะจะมีปริมาณของไอเสียที่ตกค้างอยู่ในกระบอกสูบเป็นจำนวนมาก ทำให้การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงเครื่องยนต์ 2 จังหวะด้อยประสิทธิภาพกว่าเครื่องยนต์ 4จังหวะ
4.             การระบายความร้อนเครื่องยนต์ 4 จังหวะจะมีระบบการระบายความร้อนได้ดีกว่าเครื่องยนต์ 2   

จังหวะเพราะเวลาที่ใช้ในการระบายความร้อนจะมากกว่าเครื่องยนต์ 2 จังหวะ

เครื่องยนต์แก๊สโซลีน 2 จังหวะ


            การทำงานของเครื่องยนต์ 2 จังหวะจะมีลักษณะคล้ายกับเครื่องยนต์ จังหวะ คือจะต้องมีจังหวะดูด อัด  ระเบิด คาย เช่นเดียวกันจะมีข้อแตกต่างกันอยู่บ้างตรงที่เครื่องยนต์ 2 จังหวะจะทำงานครบตามจังหวะดังกล่าวได้ก็โดยที่ลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นแล้วลง 2 ครั้ง  หรือเพลาข้อเหวี่ยงหมุน 1 รอบเท่านั้นก็จะได้งาน ครั้ง
เครื่องยนต์แก๊สโซลีน 2 จังหวะ  มีหลักการทำงานในจังหวะต่างๆดังนี้คือ
1.  จังหวะคายและจังหวะดูด  (Exhaust  and  Intake  Stroke)

เครื่องยนต์แก๊สโซลีน 2 จังหวะเมื่อแรงระเบิดซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ของส่วนผสมระหว่างอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิงภายในห้องเผาไหม้จะผลักดันให้ลูกสูบเคลื่อนที่ลงจนถึงจุดหนึ่ง  ขอบบนของลูกสูบจะเปิดช่องไอเสียแก็สไอเสียก็จะพุ่งตัวออกไปทางช่องไอเสียของกระบอกลูกสูบ  และเมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ลงมาเล็กน้อยขอบบนอีกด้านหนึ่งของลูกสูบจะเปิดช่องไอดี (Transfer  Port) ซึ่งไอดีที่มีกำลังดันสูงจากห้องแคร้งจะถูกส่งผ่านช่องส่งไอดีเข้าไปบรรจุอยู่ภายในกระบอกสูบพร้อมทั้งขับไล่ไอเสีย  ขณะนี้เครื่องยนต์จะอยู่ที่จังหวะคายและจังหวะดูด
   การที่ไอดีในห้องแคร้งมีกำลังดันสูง  ก็เนื่องมาจากในขณะที่ลูกสูบเคลื่อนที่ลงมาจนกระทั่งขอบล่างของลูกสูบปิดช่องไอดี (Inlet Port) ทำให้ไอดีที่อยู่ภายในห้องนี้ถูกอัดตัวให้มีกำลังดันสูงขึ้นไปเรื่อยๆ เครื่องยนต์  2  จังหวะชนิดนี้ลิ้นรีดวาล์วแบบแผ่นในการจัดส่งไอดีเข้าสู่ห้องแคร้งเป็นลิ้นในการจัดส่งไอดีเข้าสู่ห้องแคร้งเป็นลิ้นชนิดกันกลับแรงดันที่เกิดจากการเคลื่อนตัวลงของลูกสูบจะดันให้ลิ้นปิดได้เองโดยอัตโนมัติทำให้ไอดีที่อยู่ในห้องแคร้งที่มีกำลังดันสูงขึ้น และป้องกันไม่ให้ไอดีรั่วไหลออกจากห้องแคร้งอีกด้วย

2.  จังหวะอัดและจังหวะระเบิด (Compress and Power Stroke)
จังหวะนี้จะเกิดต่อเนื่องมาจากจังหวะดูด เริ่มตั้งแต่เมื่อขอบบนของลูกสูบซึ่งเคลื่อนที่จากศูนย์ตายล่างขึ้นสู่ศูนย์ตายบนจะปิดช่องส่งไอดีและช่องไอเสียตามลำดับ (ช่องส่งไอดีโดยปกติจะอยู่ในตำแหน่งต่ำกว่าช่องไอเสียเล็กน้อยเพื่อผลในการบรรจุไอดีเข้าสู่กระบอกสูบ และขับไล่ไอเสียออกจากกระบอกสูบ) ลูกสูบจะทำการอัดไอดีขึ้นไปเรื่อยๆ ในช่วงนี้เครื่องยนต์จะอยู่ในจังหวะอัด  เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นก่อนจะถึงศูนย์ตายบนเล็กน้อยหัวเทียนจะจุดประกายไฟ ทำให้ส่วนไอดีหรือส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศเกิดการเผาไหม้ ช่วงนี้เครื่องยนต์จะอยู่ในจังหวะระเบิด แรงระเบิดที่เกิดจากการเผาไหม้จะทำให้ลูกสูบเคลื่อนที่ลง  และหมุนเวียนกันอยู่เช่นนี้ตลอดเวลาที่เครื่องยนต์ทำงาน จะเห็นได้ว่าในการทำงาน 1 ครั้ง ลูกสูบจะเคลื่อนที่ขึ้น-ลง 2 ครั้ง คือ  ขึ้น 1 ครั้ง ลง 1 ครั้ง  หรือเพลาข้อเหวี่ยงหมุน 1รอบ จึงเรียกเครื่องยนต์ชนิดนี้ว่า เครื่องยนต์ 2 จังหวะ

หน้าที่ของเครื่องยนต์


      เครื่องยนต์ (Engine) หมายถึง เครื่องจักรหรือเครื่องกลที่สามารถเปลี่ยนพลังงานความร้อนเป็นพลังงานกล ซึ่งเครื่องยนต์ เป็นเครื่องต้นกำลัง และที่สำคัญนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันสามารถจัดส่งกำลังให้กับส่วนประกอบและอุปกรณ์เครื่องทุ่นแรงต่างๆ เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนหรือทำงานได้ เครื่องยนต์จึงเป็นสิ่งที่ทำประโยชน์ให้กับมนุษย์ได้อย่างมหาศาล เครื่องยนต์ที่นิยมโดยทั่วไป ได้แก่ เครื่องจักรไอน้ำ (Steam Engine) เครื่องยนต์แก๊สโซลีน (Gassolene Engine) เครื่องยนต์ดีเซล (Diesel Engine) เครื่องยนต์โรตารี่ (Rotary Engine) และเครื่องยนต์กังหันแก๊ส เป็นต้น
เครื่องยนต์แก๊สโซลีน (Gassolene Engine) หมายถึง เครื่องจักรหรือเครื่องกลทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานความร้อนของน้ำมันเชื้อเพลิงให้เป็นพลังงานกลที่ขับออกมาทางเพลาข้อเหวี่ยงจึงกล่าวได้ว่าพลังงานที่เกิดขึ้นได้จากการเผาไหม้ มีองค์ประกอบที่สำคัญคือ
  1.    อากาศ (Air) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการเผาไหม้ การไม่มีอากาศเผาไหม้ก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้เนื่องจากอากาศมีออกซิเจนซึ่งช่วยให้ติดไฟ
  2.  เชื้อเพลิง (Fuel) เชื้อเพลิงเป็นวัตถุติดไฟ ในกรณีนี้หมายถึง น้ำมันเชื้อเพลิง
  3.   ความร้อน (Fire) ในที่นี้หมายถึงความร้อนที่มีอุณหภูมิสูงถึงการจุดติด เช่นประกายไฟจากการอาร์ก เป็นต้น
การเผาไหม้ (Combustion)
  คือ การเผาไหม้ส่วนผสมของอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิงภายในห้องเผาไหม้ของเครื่องยนต์ ซึ่งจะเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาอันสั้น เมื่ออากาศผสมกับน้ำมันในอัตราส่วนที่ถูกต้อง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาตรของห้องเผาไหม้ คาร์บอนในน้ำมันเชื้อเพลิง เมื่อเกิดการเผาไหม้จะรวมตัวกับออกซิเจนเป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ดังสมการนี้

C + O                                Co2 + ความร้อน
           
   สรุปได้ว่า พลังงานเครื่องยนต์ เกิดขึ้นได้จากพลังงานความร้อนจากการเผาไหม้ในห้องเผาไหม้ของเครื่องยนต์ การเผาไหม้ในเครื่องยนต์ เป็นการเผาไหม้ที่มีการควบคุมได้ ห้องเผาไหม้ในกระบวนการเผาไหม้จะทำให้เกิดความร้อนภายในกระบอกสูบของเครื่องยนต์ การเผาไหม้ในห้องเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศถูกผสมกันกลายเป็นไอดี (Mixture) และถูกส่งเข้าไปในกระบอกสูบแล้วอัดให้มีปริมาตรเล็กลงทำให้ไอดีที่ถูกอัดตัวมีกำลังดันสูง เมื่อมีประกายไฟมาจุดไอดีที่ถูกอัดดังกล่าว การเผาไหม้จึงเกิดขึ้นอย่างรุนแรงและรวดเร็ว เรียกว่า การจุดระเบิดมีปริมาตรเท่ากับความจุของกระบอกสูบ

วิวัฒนาการของเครื่องยนต์


วิวัฒนาการของเครื่องยนต์
            ในปีพ.ศ. 2236 นายปาแปง (Papin) ชาวฝรั่งเศสได้คิดประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำขึ้นสำเร็จเป็นครั้งแรก และในระยะเดียวกันนายเซปาเลย์ (Sepaley) ชาวอังกฤษได้ประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำ และสามารถนำมาเป็นตัวต้นกำเนิดกำลังฉุดเครื่องปั๊มน้ำออกจากเหมืองแร่ได้สำเร็จ แต่ปรากฏว่าเครื่องจักรไอน้ำมีปัญหาบางประการ และนายนิวแมน (Newman) ชาวอังกฤษได้ปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาให้ดีขึ้น
            จากนั้นนายเจมส์ วัตต์ (James Watt) ชาวอังกฤษได้ประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำ โดยใช้กำลังดันของไอน้ำไปผลักดันให้ลูกสูบเคลื่อนไปมาในแนวดิ่งขับดันเพลาให้หมุน เพื่อเป็นตัวกำเนิดกำลังของเครื่องจักรไอน้ำเป็นพื้นฐานของเครื่องยนต์ที่ใช้เป็นยานพาหนะต่างๆในปัจจุบัน
            ต่อมาปี พ.ศ. 2312 นายนิโคลัส โจเซฟ กูโน (Nicholas Joseph Gunoe) นายทหารชาวฝรั่งเศษได้ประดิษฐ์รถยนต์ใช้เครื่องจักรไอน้ำวิ่งได้ แต่ปรากฏว่าไม่ได้รับความนิยมจากประชาชนส่วนใหญ่ในยุคนั้น
            ปี พ.ศ. 2415 ดร.ออตโต (Count Nicholas Otto) วิศวกรชาวเยอรมันได้ประดิษฐ์เครื่องยนต์แก๊สโซลีน (Gassoline Engine) ขึ้นสำเร็จและได้มีการพัฒนาทางด้านยนตกรรมให้เจิรฺญก้าวหน้าจนถึงปัจจุบัน
            ปี พ.ศ. นายเดมเลอร์ (Gottlieb Daimler) นายเบนซ์ (Carl Benz) และนายเมย์บัค (Maybach) ซึ่งเป็นชาวเยอรมัน ได้ประดิษฐ์เครื่องยนต์แก๊สโซลีนที่มีความเร็วมากกว่าของ ดร.ออตโต ถึง4เท่า คอมีความเร็วรอบถึง 900 รอบต่อนาที
            ปี พ.ศ. 2436 นายเมย์บัค ได้ประดิษฐ์คาร์บูเรเตอร์ที่ใช้ระบบนมหนู
            ปี พ.ศ. 2437 นายเบนซ์ ได้คิดประดิษฐ์เครื่องยนต์ขนาด 2 ¾ แรงม้าขึ้นสำเร็จ
            ปี พ.ศ. 2438 พี่น้องตระกูลมิชลิน (Michelin) ได้คิดผลิตยางแบบเติมลมขึ้นใช้กับล้อรถยนต์
            ปี พ.ศ 2440 นายมอร์ ชาวฝรั่งเศษ ได้คิดพัฒนาเครื่องยนต์เป็นรูปทรงตัววี (V) ขนาด 8 สูบ หรือเรียกว่าเครื่องยนต์ V8 ได้สำเร็จ

            ปี พ.ศ. 2440 ชาวออสเตรียชื่อ นายแกรฟและสตีฟ ผลิตรถยนต์ขับเคลื่อนล้อหน้าขึ้นสำเร็จ

            ปี พ.ศ. 2441 นายเดมเลอร์ได้คิดประดิษฐ์เครื่องยนต์สูบเรียง 4 สูบขึ้นได้สำเร็จและหลังจากนั้นหนึ่งปีนายเดมเลอร์ได้คิดประดิษฐ์ เกียร์ หม้อน้ำ และเร่งเครื่องยนต์ด้วยเท้าสำเร็จ
            ปี พ.ศ. 2442 นายเรโนลต์ แห่งฝรั่งเศส ได้ผลิตข้อต่ออ่อนใช้กับเพลาขับของรถยนต์ได้สำเร็จ
            ปี พ.ศ. 2445 ชาวฮอลแลนด์ชื่อนายสไปร์เดอร์ ได้ผลิตเครื่องยนต์ขับเคลื่อน 4 ล้อ (4WD) โดยใช้เครื่องยนต์ 6 สูบ เป็นเครื่องยนต์ต้นกำลังสำเร็จ
            ปี พ.ศ. 2446 นายเมาด์สเลย์ ชาวอังกฤษได้คิดค้นประดิษฐ์เครื่องยนต์ที่ติดตั่งเพลาลูกเบี้ยวอยู่บนฝาสูบได้สำเร็จ ที่เรียกว่า O.H.C (Over Head Camshaft)
            ปี พ.ศ. 2450 นายซักวิก ชาวอเมริกาไดประดิษฐ์อุปกรณ์เพื่อเพิ่มสมรรถนะของเครื่องยนต์ที่เรียกว่า ซูเปอร์ชาร์จเจอร์ (Supercharger) ใช้กับเครื่องยนต์
            ปี พ.ศ. 2451 นายฟอร์ด ได้ผลิตระบบจุดระเบิดที่ใช้คอยล์และจานจ่าย และประดิษฐ์รถยนต์โมเดลใหม่ขึ้นมาเรียกว่า โมเดล-ที
            ปี พ.ศ. 2455 นายเปอร์โยต์ (Peugeot) ได้นำเครื่องยนต์ที่ใช้เพลาลูกเบี้ยวอยู่บนฝาสูบชนิดคู่ (O.H.C Twincam) ใช้กับเครื่องยนต์ของรถยนต์
            เครื่องยนต์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยมีจุดหมายอยู่ที่ความปลอดภัยความสะดวกสบาย ความรวดเร็ว ความประหยัด และการลดมลภาวะจากเครื่องยนต์รถยนต์


ระบบจุดระเบิด


ระบบจุดระเบิด

       ทำหน้าที่นำกระแสไฟแรงเคลื่อนต่ำ  12  โวลท์ มาแปลงเป็นไฟแรงเคลื่อนสูง ประมาณ  5,000 – 30,000  โวลต์  ไปกระโดดข้ามที่หัวเทียน เพื่อให้เกิดการระเบิดของไอดี  ระบบจุดระเบิดประกอบด้วยอุปกรณ์ต่างๆ  ดังนี้

2.1    แบตเตอรี่  เป็นแหล่งจ่ายกระแสไฟเบื้องต้นในรถยนต์  ในขณะที่เครื่องยนต์ยังไม่ติด



รูปแสดงแบตเตอรี่รถยนต์

2.2    สวิตช์จุดระเบิดหรือสวิตช์กุญแจ  ทำหน้าที่ตัดต่อไฟแรงต่ำกับระบบจุดระเบิด คอยล์จุดระเบิด  ทำหน้าที่แปลงไฟแรงเคลื่อนต่ำให้เป็นไฟแรงเคลื่อนสูง  แล้วส่งไปยังหัวเทียน





สดงรูปสวิตช์กุญแ

2.3    คอนเดนเซอร์  ทำหน้าที่ป้องกันการอาร์คที่หน้าททองขาวขณะที่หน้าทองขาวเปิด


แสดงรูปคอนเดนเซอร์

2.4    ชุดทองขาว  ทำหน้าที่เป็นสวิทช์อัตโนมัติตัดต่อไฟแรงต่ำจากคอยล์จุดระเบิดกับกราวด์



แสดงรูปชุดหน้าทองขาว

2.5    จานจ่าย  ทำหน้าที่จ่ายไฟแรงสูงให้กับหัวเทียนแต่ละสูบตามจังหวะการทำงาน


แสดงรูปจานจ่าย

2.6    หัวเทียน  ทำหน้าที่นำไฟแรงสูงที่คอยล์ส่งมาให้  ทำให้เกิดการสปาร์ค เพื่อจุดระเบิดไอดี




แสดงรูปหัวเทียน

หลักการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล 2 จังหวะ

หลักการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล จังหวะ
       เครื่องยนต์ดีเซล 2 จังหวะ มีกลวัตรในการทำงานดังนี้คือ จังหวะดูด จังหวะอัด จังหวะระเบิด และจังหวะคาย








1. จังหวะที่1 เป็นจังหวะดูดและจังหวะอัดในจังหวะนี้จะเริ่มต้นเมื่อลูกสูบอยู่ที่ศูนย์ตายล่างและเริ่มเคลื่อนที่ขึ้นสู่ศูนย์ตายบนก่อนที่จะเคลื่อนที่ขึ้นหัวลูกสูบจะอยู่ต่ำกว่าช่องทางเข้าไอดีทำให้ช่องทางไอดีเปิด(Blower)จะดูดอากาศจากภายนอกผ่านช่องทางไอดีจนบรรจุเต็มลูกสูบจะเคลื่อนที่จากจุดศูนย์ตายล่างขึ้นสู่ศูนย์ตายบนปิดช่องทางไอดีลิ้นไอเสียทั้งสองจะปิดสนิทอากาศจะถูกอัด


รูปแสดงการทำงานของจังหวะดูดกับอัด





















2. จังหวะที่ 2  เป็นจังหวะระเบิดกับจังหวะคาย เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นอัดอากาศหัวฉีดจะฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงให้เป็นฝอยละอองเข้าสู่ห้องเผาไหม้เพื่อให้คลุกเคล้ากับอากาศที่ร้อนเกิดการเผาไหม้และจุดระเบิดขึ้นดันให้ลูกสูบเคลื่อนที่ลงศูนย์ตายล่างทำให้ลูกสูบเคลื่อนที่ลงประมาณ 80 ถึง 85 เปอร์เซ็นของระยะชักลิ้นไอเสียจะเปิดให้ไอเสียระบายออกจนเต็มจนเกิดอุณหภูมิสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว



รูปแสดงการทำงานของจังหวะระเบิดกับคาย




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น